Dhcp Server คืออะไร ทำงานอย่างไร

ปัจจุบันอินเตอร์เน็ตถือได้ว่าเป็นโครงข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งการที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะมาเชื่อมต่อกันได้นั้นจะต้องมีการกำหนดเลขที่อยู่หรือที่เราเรียกว่า IP Address เสียก่อน โดยมีหลักการตั้ง IP ไว้ว่า คอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันนั้นจะต้องมี IP ที่ไม่ซ้ำกัน ซึ่งปัญหานี้จะเกิดกับโครงข่ายที่มีลูกข่ายจำนวนมากทำให้การจัดการ IP ในเครืองข่ายนั้นๆเป็นเรื่องยาก ทำให้เราต้องมีตัวช่วยในการจัดระเบียบ IP โดยตัวช่วยนี้เราเรียกว่า DHCP

DHCP คืออะไร
DHCP ย่อมาจาก Dynamic Host Configuration Protocol คือโพรโทคอลที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทำงานแบบแม่ข่ายกับลูกข่าย โดย DHCP ได้รับการยอมรับเป็นมาตราฐานในการใช้งานในเครือข่ายแทน BOOTP ซึ่งเป็นโพรโทคอลรุ่นเก่า ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1993 โดยในปัจจุบันนี้ DHCP ได้มีการพัฒนามาถึงเวอร์ชั่น DHCPv6 ใช้กับงานร่วมกับโพรโทคอล IPv6 และได้รับมาตราฐานในการใช้งานตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ.2003
DHCP ทำหน้าที่อะไร
หน้าที่หลักๆของ DHCP (Dynamic Host Configuration Protocol) คือคอยจัดการและแจกจ่ายเลขหมายไอพีให้กับลูกข่ายที่มาเชื่อมต่อกับแม่ข่ายไม่ให้หมายเลขไอพีของลูกข่ายมีการซ้ำกันอย่างเด็ดขาด อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งได้ทำการเชื่อมต่อกับ DHCP Server เครื่องเซฟเวอร์ก็จะให้ หมายเลขไอพีกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มาทำการต่อเชื่อมแบบอัตโนมัติ ซึ่งไม่ว่าจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อมากเท่าไร DHCP Server ก็จะออกเลยหมายไอพีให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องไม่ซ้ำกันทำให้เครือข่ายนั้นไม่เกิดปัญหาในการใช้งาน
DHCP Server มีหลักการในการจ่ายหมายเลขไอพีให้กับลูกข่ายอยู่ 3 วิธีด้วยกันคือ
1. กำหนดด้วยตัวเอง ซึ่งผู้ควบคุมดูแลสามารถที่จะกำหนดไอพีให้กับเครื่องลูกข่ายได้ด้วยตัวเองโดยใช้วิธีเทียบกับหมายเลข MAC
2. แบบอัตโนมัติ DHCP Server จะจ่ายหมายเลขไอพีให้กับเครื่องลูกข่ายแบบอัตโนมัติไม่ซ้ำกัน แต่จะออกหมายเลขไอพีตามช่วงของหมายเลขไอพีที่ผู้ควบคุมดูแลกำหนดไว้ให้ วิธีนี้หมายเลขไอพีจะติดอยู่กับเครื่องลูกข่ายอย่างถาวร เช่นเมื่อเครื่องลูกข่ายที่เคยได้หมายเขไอพีจากวิธีนี้ไปแล้วเมื่อกลับมาเชื่อมต่อใหม่อีกครั้งก็จะได้หมายเลขไอพีเดิมไปใช้งานนั้นเอง
3. แบบไดนามิก มีหลักการทำงานเหมือนกับแบบอัตโนมัติแต่แตกต่างอยู่ที่หมายเลขไอพีที่ออกด้วยวิธีไดดามิกจะไม่ถาวร เมื่อเครื่องลูกข่ายได้หมายเลขไอพีจากวิธีไปแล้ว เมื่อมีการออกจากระบบแล้วเข้ามาเชื่อมต่อกับเครือข่ายในภายหลังหมายเลขไอพีที่ได้จะได้เป็นหมายเลขไอพีใหม่เลย
ประโยชน์ของ DHCP มีอะไรบ้าง
ประโยชน์ของ DHCP นั้นจะช่วยในเรื่องระบบการจัดการเครือข่ายเป็นส่วนสำคัญ โดยมีการบริหารและจัดการระบบหมายเลขไอพีที่ไม่ซ้ำกันไม่ว่าจะมีเครื่องลูกข่ายมากขนาดไหนก็ตาม เพราะถ้าไม่มี DHCP เข้ามาช่วยในเรื่องนี้ การจัดแจงและจ่ายหมายเลขไอพีจะเป็นเรื่องยากถ้าเครือข่ายนั้นเป็นเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่
DHCP เป็นโพรโทคอลที่นิยมใช้ในโครงข่ายอินเตอร์เน็ต และโครงข่ายขนาดใหญ่ที่มีลูกข่ายเข้ามาทำการเชื่อมต่อกับ Server อยู่ตลอดเวลา และ DHCP ยังช่วยให้ไม่ต้องเสียเวลาในการกำหนดค่าต่างๆ ให้กับเครื่องลูกข่าย เพราะว่า DHCP จะทำการการตั้งค่าระบบ เครือข่ายแบบอัตโนมัตินั่นเอง
                                                     

ตัวอย่างการทำงานของ Dhcp Server
DHCP Server นั้น ก็เหมือนกับบริการอื่นๆ ของ Windows Server2003 คือจะไม่ถูกติดตั้งโดยดีฟอลท์ โดยวิธีการติดตั้ง DHCP Server นั้น ให้ไปที่ Manage Your Server แล้วคลิกที่ Add or remove role จะได้หน้าต่าง Configure Your Wizard ซึ่งจะช่วยในการ Add or remove a role
                                                        

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความหมายของ IOS Cisco เเละคำสั่ง

โปรแกรม Cisco Packet Tracer

การใช้คำสั่ง System.out.println ใช้อย่างไร