บทความ

การเขียนโปรเเกรมเชิงวัตถุ OOP (Object Oriented Programming)

รูปภาพ
OOP (Object Oriented Programming) เป็นวิธีการเขียนโปรแกรม โดยอาศัยแนวคิดของวัตถุชิ้นหนึ่ง มีความสามารถในการปกป้องข้อมูล และการสืบทอดคุณสมบัติ ซึ่งทำให้แนวโน้มของ OOP ได้รับการยอมรับและพัฒนามาใช้ในระบบต่าง ๆ มากมาย  เช่น ระบบปฏิบัติการ วินโดวส์ เป็นต้น  ในที่นี้จะกล่าวถึงความเป็นมา และความหมายของแนวคิดการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ ข้อควรรู้เกี่ยวกับหลักการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ ตลอดจนความสำคัญของการเขียนและออกแบบระบบงานก่อนเขียนโปรแกรม  รวมถึงประโยชน์ของการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุซึ่งจะทำให้ผู้เขียนได้เข้าใจถึงหลักการเบื้องต้นของแนวความคิดเชิงวัตถุนี้ได้ ความเป็นมาของแนวคิดแบบ   OOP แนวความคิดดั้งเดิมของการเขียนโปรแกรม ก็คือ การแก้ปัญหาโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ  คล้ายกับการใช้เครื่องคิดเลขในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์  แนวความคิดแบบใหม่ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม ก็คือ การเน้นถึงปัญหาและองค์ประกอบของปัญหา (เพื่อแก้ปัญหา) การเน้นที่ปัญหาและองค์ประกอบของปัญหา (Problem Space) จะคล้ายกับแก้ไขปัญหาและชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ที่จะต้องมี คน สัตว์ สิ่งของ เพื่อแก้ปัญหา (มีหน้าที่แก้ปัญหา

Class ของ โปรเเกรมเชิงวัตถุ

รูปภาพ
Class – Class หมายถึงโครงสร้างของ object โดย class เป็นตัวกำหนดว่า object นั้นจะมี data หรือคุณลักษณะอะไร บ้าง และมี method อะไรบ้าง เปรียบเสมือนพิมพ์เขียว (template) ของออปเจ็ค – ออปเจ็คที่ถูกสร้างมาจากคลาส (class) บางครั้งเรียกว่าเป็น instance ของคลาส คลาสหนึ่งคลาสสามารถสร้างออปเจ็คได้หลายออปเจ็ค – Object นั้นจะถูกสร้างขึ้นตามกระบวนการทำงานของ JVM โดยที่นักพัฒนาจะต้องนิยาม Class ที่ต้องการให้กับ JVM ตัวอย่าง คลาส เช่น  คลาส Student อาจสร้างออปเจ็ค s1,s2 หรือ s3 ซึ่งเป็นออปเจ็คของคลาส Student               

Dhcp Server คืออะไร ทำงานอย่างไร

รูปภาพ
ปัจจุบันอินเตอร์เน็ตถือได้ว่าเป็นโครงข่ายที่ใหญ่ ที่สุดในโลก  ซึ่งการที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะมาเชื่อมต่อกันได้นั้นจะต้องมีการกำหนดเลขที่อยู่หรือที่เราเรียกว่า IP Address เ สี ยก่อน โดยมีหลักการตั้ง IP ไว้ว่า คอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันนั้นจะต้องมี IP ที่ไม่ซ้ำกัน ซึ่งปัญหานี้จะเกิดกับโครงข่ายที่มีลูกข่ายจำนวนมากทำให้การจัดการ IP ในเครืองข่ายนั้นๆเป็นเรื่องยาก ทำให้เราต้องมีตัวช่วยในการจัดระเบียบ IP โดยตัวช่วยนี้เราเรียกว่า DHCP DHCP คืออะไร DHCP  ย่อมาจาก  Dynamic Host Configuration Protocol คือโพรโทคอลที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทำงานแบบแม่ข่ายกับลูกข่าย โดย DHCP ได้รับการยอมรับเป็นมาตราฐานในการใช้งานในเครือข่ายแทน BOOTP ซึ่งเป็นโพรโทคอลรุ่นเก่า ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1993 โดยในปัจจุบันนี้ DHCP ได้มีการพัฒนามาถึงเวอร์ชั่น DHCPv6 ใช้กับงานร่วมกับโพรโทคอล IPv6 และได้รับมาตราฐานในการใช้งานตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ.2003 DHCP ทำหน้าที่อะไร หน้าที่หลักๆของ DHCP (Dynamic Host Configuration Protocol) คือคอยจัดการและแจกจ่ายเลขหมายไอพีให้กับลูกข่ายที่มาเชื่อมต่อกับแม่ข่ายไม่ให้หมายเ

Web server คืออะไร ทำงานอย่างไร

รูปภาพ
Web server คืออะไร Web server คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำหน้าที่ให้บริการข้อมูล แก่ Client หรือ เครืองคอมพิวเตอร์ที่ขอรับบริการ ในรูปแบบ สื่อผสม ผ่านระบบเครือข่าย โดยสามารถแสดงผล ผ่านโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ หรืออาจกล่าวได้ว่า  Web server  คือโปรแกรมที่คอยให้บริการแก่ Client ที่ร้องขอข้อมูลเข้ามาโดยผ่าน  web browser  โปรแกรมที่นิยมนำใช้เป็นเครื่องบริการเว็บ ได้แก่ อาปาเช่ (Apache Web Server) และไมโครซอฟท์ไอไอเอส (Microsoft IIS = Internet Information Server)เป็นต้น เวอร์ชั่นของ Nginx เวอร์ชั่นของ Apache                                                                หลักการทำงานของ Web Server การทำงานของเว็บเซิร์ฟเวอร์เป็นการนำเว็บเพจ (Web Page) ที่เก็บอยู่ที่เซิร์ฟเวอร์ส่งผ่านไปให้แก่ เว็บบราวเซอร์ (Web Browser) ในเครื่องที่ทำการร้องขอมา ซึ่งกระบวนการของเว็บแอพพลิเคชั่น (Web Application) ที่มีการติดต่อกับฐานข้อมูลเป็นดังนี้ 1. เว็บบราวเซอร์ทำการร้องขอเว็บเพจด้วยโปรโตคอลเอ็ชทีทีพี (HTTP Protocol) ไปยังเว็บ เซิร์ฟเวอร์ 2. เมื่อเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้รับการร้

ความหมายของ IOS Cisco เเละคำสั่ง

ซอฟต์แวร์  Cisco Internetwork Operating System (IOS) Software  ได้รับการพัฒนาขึ้นมาสำหรับฮาร์ดแวร์หลายรุ่น และถูกใช้เป็นซอฟต์แวร์พื้นฐานที่ได้รับการบันทึกไว้อย่างถาวรภายใน Router  Cisco ทุกรุ่น ซอฟต์แวร์นี้ช่วยให้ผู้ใช้ได้รับบริการเกี่ยวกับเครือข่าย ดังต่อไปนี้ สามารถเลือกโปรโตคอลฟังก์ชันที่จะนำมาใช้งานได้ การเชื่อมต่อด้วยความเร็วสูงกับอุปกรณ์ต่างๆ การรักษาความปลอดภัยในการควบคุมการเชื่อมต่อและป้องกันไม่ให้ผู้อื่นเข้ามาใช้งาน การขยายขีดความสามารถในการเพิ่มส่วนเชื่อมต่อและขีดความสามารถต่างๆตามที่ต้องการสำหรับการเติบโตของระบบเครือข่าย ความเชื่อถือได้เพื่อการรับประกันการใช้งานเชื่อมโยงเข้ากับทรัพยากรระบบเครือข่ายต่างๆ            ส่วนเชื่อมต่อในการใช้คำสั่งที่เรียกว่า  Cisco IOS Software command-line interface (CLI) สามารถที่จะเข้าถึงได้เชื่อมต่อทาง console การเชื่อมโยงทางโมเด็ม หรือการเชื่อมต่อผ่านโปรแกรม Telnet ไม่ว่าจะใช้วิธีการเข้ามาใช้งานอย่างไร การเข้ามาใช้งานคำสั่งเหล่านี้เรียกว่าเป็นช่วงการสื่อสาร EXEC session  ความช่วยเหลือผ่านทาง Router CLI เมื่อผู้ใช้พิมพ์เครื่องหมา

ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมจาวา

รูปภาพ
ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมจาวา ตัวอย่าง   //รับข้อมูลส่วนตัวจาก user และแสดงผล import java.io.*;         //ต้องประกาศ import เมื่อต้องการใช้ class java.io หาค่าเฉลี่ย public class Introduction          //ชื่อ class จะต้องชื่อเดียวกับ file       {     public static void main(String[] args) throws IOException         //method ที่ใช้สำหรับ run program, โยนทิ้งเมื่อมี exeption      {              BufferedReader in = new BufferedReader(new InputStreamReader(System.in));     //ประกาศคำสั่งที่ใช้ในการรับค่า          System.out.println("Your name is...");                        //แสดงข้อความ           String name = in.readLine();                                     //รับค่า name จาก user เป็นข้อความ           System.out.println("Your age is...");                          //แสดงข้อความ           String age = in.readLine();                                     //รับค่า age จาก user เป็นข้อความ           System.out.println("Your occupation is...");               //แสดงข้

การใช้คำสั่ง System.out.println ใช้อย่างไร

การใช้คำสั่ง print กับ println ต่างกันแค่นิดเดียว คือ print  -:- เป็นการแสดงผลออกทางหน้าจอโดยไม่ขึ้นบรรทัดใหม่ println  -:- เป็นการแสดงผลออกทางหน้าจอโดยขึ้นบรรทัดใหม่ให้ ตัวอย่างที่ 1 public class Main { public static void main ( String [] args ) { System . out . print ( "Welcome to " ); System . out . println ( "www.doesystem.com" ); } } Output ที่ได้คือ  Welcome to www.doesystem.com ตัวอย่างที่ 2 public class Main { public static void main ( String [] args ) { System . out . print ( "Welcome to" ); System . out . println ( "www.doesystem.com" ); } } Output ที่ได้คือ  Welcome towww.doesystem.com สรุปผล  การใช้คำสั่ง  print  เป็นการแสดงออกทางจอภาพโดยไม่ขึ้นบรรทัดใหม่ไม่มีช่องว่าง จะเป็นการนำมาต่อกันแบบตรง ๆ เลย ต่อไปเรามาดูคำสั่ง  println  กันบ้างดีกว่า ตัวอย่างที่ 3 public class Main { public static void main ( String [] args ) { Sys